เหล็ก,Wire Mesh
เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ตะแกรงไวร์เมซ
ถ้าหากเรานึกถึงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สะพาน หรือถนน
เหล็ก ก็คือหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในงานโครงสร้าง
ที่จะทำให้สิ่งก่อสร้างของเราเป็นรูปร่างและมีความคงทนแข็งแรง
ซึ่งเหล็กในแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ตามประเภทการใช้งาน
การเลือกใช้เหล็กในงานก่อสร้าง ควรเลือกให้เหมาะกับประเภทการใช้งาน
เพื่อความคงทนของโครงสร้าง ความรวดเร็วในการทำงาน
ซึ่งทางเรามี เหล็ก จำหน่าย โดยแยกตามประเภทการใช้งาน ดังนี้
เหล็กเส้นกลม RB (Round Bar)
เป็นเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบ จึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดี
จึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น บ้านพักอาศัย โรงงาน อาคารพาณิชย์
ถนน เสาในโครงขนาดกลาง หรือ โรงงาน เป็นต้น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ
ตั้งแต่ RB6, RB8, RB9, RB10, RB12, RB15, RB19, RB25 ที่ความยาวมาตรฐาน 10 ม.
ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ซึ่งมีความหมายว่ามีกำลังแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 KSC. (กก./ตร.ซม.)
ข้อพิจารณาเพื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีรอยแตก และไม่เบี้ยว
เมื่อตัดโค้งงอต้องไม่ปริแตก และหักง่าย
เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่ทั้งนี้เหล็กอาจสามารถเป็นสนิมได้บ้างบนผิวเหล็ก เนื่องจาก สภาวะอากาศก็เป็นได้
เส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. และน้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./1 ม. และความยาวตามเส้นมาตรฐานต้องยาว 10 ม. เป็นต้น
เหล็กข้ออ้อย DB (Deformed Bar)
คือเหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กที่มีบั้ง เหมาะกับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรง
เช่น อาคารสูง ถนนคอนกรีต เขื่อน คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ผิวของเหล็กข้ออ้อยจะมีลักษณะเป็นปล้องๆ เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากยิ่งขึ้น
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ตั้งแต่ DB10, DB12, DB16, DB20, DB25, DB28, DB32, DB40
ที่ขนาดความยาวมาตรฐาน 10 ม. และ 12 ม.
ชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อย มี 3 ประเภท คือ SD30, SD40 และ SD50
มีกำลังแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3,000, 4,000 และ 5,000 KSC. (กก./ตร.ซม.) ตามลำดับ
ซึ่งหมายความว่าเหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลม และให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักมากกว่า
ปัจจุบันงานก่อสร้างส่วนใหญ่ นิยมใช้เหล็กข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เพราะมีคุณภาพสูงกว่า
ทั้งแรงดึงและแรงยึดเกาะ ซึ่งสัดส่วนการใช้งาน SD40 และ SD50 ยังนิยมใช้มากกว่า SD30 อีกด้วย
ข้อพิจารณาเพื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งเป็นระยะๆ เท่ากัน โดยสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น รวมทั้งบั้งที่อยู่ตรงข้ามกันต้องมีขนาดและรูปร่างที่เหมือนกัน
ต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง และต้องไม่ปริ ไม่แตกร้าว ไม่เป็นสนิม